HP Switch (Comware 5) Simulator

By Unknown | วันพุธ, ตุลาคม 29, 2557

Comware 5 Simulator ตัวนี้เป็นตัวจำลอง OS ของ HP Switch ที่ใช้ทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ไม่มีอุปกรณ์ตัวจริง ซึ่ง Comware 5 เป็นเวอร์ชั่นเก่ามาก ตอนนี้มี Comware 7 มาแล้ว แต่ตัว Simulator ค่อนข้างใช้ยาก อีกอย่างที่แลปคณะก็ใช้ Comware 5 อยู่ เลยเอาตัวนี้มาเล่นดีกว่า ง่ายดี

ดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่นี้ Simware.zip รหัสผ่าน : amnetwork.blogspot.com

พอโหลดมาจะมีโฟลเดอร์อยู่ 4 อันคือ bin, dev, doc และ tools โดยแต่ละโฟลเดอร์มีหน้าที่ดังนี้

  • bin - เป็นโฟลเดอร์ที่เก็บตัว Simulator ห้ามลบ และห้ามรันโปรแกรมจากโฟลเดอร์นี้
  • dev- เป็นโฟลเดอร์ที่เสมือนเป็นคลังเก็บสวิตช์ของเรา โดยเราจะรันโปรแกรมจากในนี้
    • *_io - สวิตช์ที่เป็นแบบ io
    • *_main - สวิตช์ที่เป็นแบบ distributed device
    • cen - สวิตช์ที่เป็นแบบ centralized เราจะใช้อันนี้
  • doc - เก็บ document ที่บอกตัวอย่างการตั้งค่าของ Simulator
  • tools - เก็บโปรแกรม WinPcap จำเป็นต้องลงก่อนใช้ตัว Simulator

วิธีใช้เบื้องต้น

ก่อนที่เราจะใช้ตัว Simulator ให้ลงโปรแกรม WinPcap ที่อยู่ในโฟลเดอร์ tools ก่อน หลังจากลงเเล้วให้เข้าไปที่โฟลเดอร์ dev แล้วไปก็อปปี้โฟลเดอร์ cen มาวางไว้ที่เดียวกันกับโฟลเดอร์ cen เนี้ยแหละ แล้วเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์เป็นชื่อสวิตช์ให้จำง่าย ๆ ถ้าจะรัน 3 สวิตช์พร้อมกันก็ก็อปมา 3 อัน แล้วตั้งชื่อตามชื่อสวิตช์เลย

เราจะ assume ว่าโฟลเดอร์ SW-1 คือ Simulator สวิตช์ตัวที่ 1, SW-2 และ SW-3 คือ Simulator ของสวิตช์ตัวที่ 2 และ 3 ตามลำดับ โดยที่เวลาเรารันตัว Simulator ให้เข้าไปที่โฟลเดอร์ของสวิตช์นั้น เช่น จะรันสวิตช์ตัวแรกก็เข้าไปที่ SW-1 แล้วรันไฟล์ที่ชื่อ boot.bat แต่ก่อนที่เราจะรันให้เซต config ไฟล์ของสวิตช์แต่ละตัวก่อน โดยเราจะต้องแก้ไฟล์ที่ชื่อ hardcfg.tcl โดยให้แก้ไฟล์เป็นแบบนี้

โดยสิ่งที่สำคัญที่เราจะต้องเปลี่ยนให้ทั้งสามสวิตช์ไม่เหมือนกันคือ SetMac 03 00 และ SetSimwareInstanceName SW1 โดยที่ SetMac จะเป็น MAC Address ของสวิตช์ โดยให้ใส่เป็นเลขสองชุด ชุด 2 ลองหลัก เช่น SetMac 10 11 สำหรับ SW-1, SetMac 10 12 สำหรับ SW-2 เป็นต้น ส่วน SetSimwareInstanceName เป็นการเซตชื่อ windows ให้กับสวิตช์ตัวนั้น ๆ (ชื่อนี้จะแสดงตรง title bar ของ Simulator)

แล้วจะต่อสายให้ระหว่าง Switch ยังไงล่ะ

ยกตัวอย่างว่าเราจะต่อสายแบบรูปด้านบน โดย G 1/0/1 คือ GigabitEthernet 1/0/1 ส่วนเลขตัวสีแดงข้างหลังให้เราสมมุติขึ้นมาเอง เป็นเลขพอร์ตตั้งแต่ 6000 - 8000 โดยแต่ละพอร์ตของสวิตช์เราจะต้องกำหนดเลขพวกนี้ขึ้นมาเพื่อนให้มันเชื่อมต่อถึงกันได้ผ่าน UDP บนเครื่องเราเอง ทีนี้ให้ไปแก้ไฟล์ hardcfg.tcl ของสวิตช์ตัวที่ 1 (ในที่นี้เป็นโฟลเดอร์ SW-1 ที่ก็อปมาจากโฟลเดอร์ cen นั่นแหละ) โดยเราจะต่อจาก G 1/0/1 ไปยัง G 1/0/2 ของสวิตช์ตัวที่ 2 ให้เราเติม -localip 127.0.0.1 -localport 6101 -dstip 127.0.0.1 -dstport 7102 ลงไปหลัง AddEthNew -speed 1000 -level2 -slot 1 -subslot 0 ที่มีคอมเม้นว่า #GigabitEthernet1/0/1 โดยเลขที่เราสมมุติขึ้นจะเอาไปใส่ในหลัง -localport กับ -dstport เช่น เราต่อ G 1/0/1 ของสวิตช์ที่ 1 (เลข 6101) ไปยัง G 1/0/2 ที่สวิตช์ตัวที่ 2 (เลข 7102) ก็ให้ใส่ 6106 ไปหลัง -localport แล้วใส่ 7102 ไปหลัง -dstport ในไฟล์ hardcfg.tcl ของสวิตช์ตัวที่ 1 ส่วนสวิตช์ตัวที่สองจะใส่ตรงกันข้ามกัน คือ ใส่เลข 7102 ไว้หลัง -localport แล้วใส่ 6101 ไปหลัง -dstport

ลองรันตัว Simulator ดูทั้งสองสวิตช์แล้วใช้คำสั่ง display interface GigabitEthernet brief ดูก็จะเห็นว่า interface up อยู่


แสดงความคิดเห็น